วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

หนังสือจินดามณี

                                                                       




ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นการเรียนการสอนภาษาไทยคงมีลักษณะแบบเดี ยวกับสมัยสุโขทัย เพราะเหตุว่า ชาวไทยในอยุธยานั้นถึงแม้ว่า จะแยกตัวออกมาเป็นอิสระ สมัยพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. 1893) นั้น หาได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มขึ้นมาใหม่ไม่ แต่ยังสืบทอดวัฒนธรรมไทยทางด้านภาษาและตัวอักษรไทยอาณาจักรสุโข ทัยทั้งสิ้น ดังปรากฏว่าจารึกลานเงินที่วัดส่องคบ (ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 3, กรุงเทพฯ , โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2508) หลักเมืองชัยนาทเก่า (จารึกหลักที่ 44,50 และ 51) เป็นจารึกที่มีอายุมากที่สุดพบอยู่ในบริเวณอาณาจักรอยุธยานั้น รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะแบบเดียวกับอักษรไทยที่ใช้อยู่ในอาณาจั กรสุโขทัยสมัยพระยาลิไทยแสดงว่าประชาคมกรุงศรีอยุธยารับตัวอักษ รไทยสุโขทัยมาใช้ตั้งแต่เริ่มตั้งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาหรือก่อ นหน้านั้นแล้ว
      ฉะนั้น แบบเรียนในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงใช้แบบสุโขทัยนั่นเอง และการจัดการเรียน การสอนคงจะสืบเนื่องแบบอย่างมาจากสุโขทัยเช่นกัน คือ สำนักเรียนวัดเป็นส่วนสำคัญในการเรียนทั่วไป และสำนักราชบัณฑิตก็จัดสอนหนังสือแก่เจ้าขุนมูลนาย
      ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ชาวตะวันตกได้เริ่มเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ชาวตะวันตกบางกลุ่มได้มีเจตนาที่จะนำพระคริสตธรรมเข้ามาเผยแพร่ ในประชาคมอยุธยาด้วย พวกบาทหลวงได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักสำคัญ ๆ ในยุโรปมาเผยแพร่คริสตศาสนา ในบางรัชสมัยบาทหลวงได้รับการสนับสนุนในการสอนศาสนาแก่ประชาคมอ ยุธยาจากราชสำนักไทย ได้จัดตั้งสำนักสอนพระคริสตธรรมและค่อยพัฒนามาเป็นโรงเรียน คือ เริ่มสอนพระคริสตธรรมแก่เยาวชนไทยควบคุ่กับการสอนภาษาต่างประเท ศและภาษาไทยแก่เยาวชนไทย คณะบาทหลวงได้รับสิทธิเสรีในการจัดการสอนอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. 2199-2213) ถึงแม้ว่าเราจะไม่ทราบรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนในสมัยน ั้นก็ตาม แต่ก็พออนุมานได้ว่า เด็นไทยจำนวนไม่น้อยที่สามารถเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสจนสามารถใช้ก ารได้อย่างดีและสามารถที่จะไปศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสไ ด้ดังปรากฏหลักฐานในจดหมายราชทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่มีพระย าโกษาธิบดีเป็นหัวหน้าคณะ ได้กล่าวฝากฝังนักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่ที่กรุงปารีส ซึ่งได้ไปศึกษาพร้อมกับคณะราชทูตไทยในครั้งนั้น
      การที่สำนักหมอสอนศาสนาเริ่มมีบทบาทในการเรียนการสอนหนังสือมาก ขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาไทยในสม ัยสมเด็จพระนารายณ์อยู่ไม่น้อย ดังที่พยายามจัดทำแบบเรียนให้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการสอนหนังสือแก่เยาวชนไทย พระโหราธิบดีจึงได้แต่งแบบเรียนชื่อ "จินดามณี" นับว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทยหนังสือแบบเรียนจินดามณีเล่มนี้คงใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยต่อ ๆ มาในสำนักราชบัณฑิตและสำนักเล่าเรียนวัดจนได้ศึกษาเล่าเรียนกัน อย่างกว้างขวาง


หนังสือแบบเรียนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

หนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระโหราธิบดี กวีในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้เรียบเรียงไว้เป็นหนังสือตำราเรียนหนังสือไทย เนื้อหาของหนังสือว่าด้วย ระเบียบของภาษา สอนอักขรวิธีเบื้องต้น พร้อมอธิบายวิธีแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ 

จินดามณีถูกใช้เป็นตำราเรียนจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนที่จะมีการปฏิรูปการศึกษาในสมัย ร .5 จินดามณีมีหลายฉบับ เช่น ฉบับโหราธิบดี ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ฉบับหมอบรัดเล เป็นต้น 

จินดามณี ฉบับหมอบรัดเล เป็นหนังสือแบบเรียนที่ ดร . แดน บีช บรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการพ ิมพ์ของไทย จัดพิมพ์เมื่อปี 2422 โดยคัดสรรมาจากตำราเรียนเก่าหลายเรื่องและสอดแทรกเนื้อหาสำคัญท ี่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยมาไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น ประถม ก กา ว่าด้วยการใช้และสะกดตัวอักษร จินดามุนี ว่าด้วยการประพันธ์โคลง เช่น โคลงสุภาพ ประถมมาลา เป็นตำราสั่งสอนวิชาหนังสือภาษาไทยให้ถูกต้องตามแบบจินดามณี ปทานุกรม เป็นส่วนราชาศัพท์ ได้เพิ่ม ศัพท์กัมพูชา ศัพท์ชวา เป็นต้น

ประถมจินดามณี เล่ม 1, เล่ม 2

ระถมจินดามณี เล่ม 1 
      หนังสือประถมจินดามณี เล่ม 1 ก็คือ จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีที่แต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยอยุธยาตอนปลายนั่นเอง ประถมจินดามณี เล่ม 1 ยังคงใช้เป็นหนังสือแบบเรียนที่สำคัญของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ประถมจินดามณี เล่ม 2 
      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงแต่งหนังสือประถมจินดามณี เล่ม 2 ขึ้น เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชปรารภให้แต่งเพื่อใช้สอนพระราชโอรส และหมู่ข้าราชบริพารรวมเวลาตั้งแต่ทรงพระราชปรารภ จนทรงนิพนธ์เสร็จ ราว 6 เดือนเศษ (ธนิต อยู่โพธิ์ 2502,124) กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงอธิบายว่า เป็นการแต่งซ้อนจินดามณีของเก่า จึงเติมชื่อให้เป็น “จินดามณี เล่ม 2”
      ลักษณะการแต่ง การแต่งใช้ทั้งฉันท์ กาพย์ ร่ายและโคลง มีความเรียงอธิบายเป็นร้อยแก้ว
      สาระสำคัญ เนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
             1. กฎเกณฑ์ทางอักขรวิธี กล่าวถึงสระ พยัญชนะ ไตรยางค์ การแจกลูกทุกตัว อักษร ทุกแม่ตัวสะกด และแจกอักษรกล้ำ แล้วผันวรรณยุกต์ตามอักษรทั้ง 3 หมู่ การใช้เครื่องหมาย การแผลงอักษร
             2. การแต่งร้อยกรอง ขึ้นต้นด้วยร่ายสุภาพ แล้วอธิบายหลักการแต่งร้อยกรอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น