วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book)

ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย 

อย่าลืมนะค่ะ เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book)


โครงการเรียนรู้จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
ณ บ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช

แหล่งเรียนรู้ชุมชน ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์ สืบสานเจตนารมย์บรรพบุรษจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียน สอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชน
     
      แหล่งเรียนรู้รู้ชุมชนหรือบ้านหลังเรียนของหลวงปู่ทวดครูสิงห์ ซึ่งเป็นสถานทีบ้านหลังเล็กเปรียบเหมือนสถานศึกษาศิษย์ที่บุตรและธิดาได้สืบสานอุดมการณ์ต่อจากวิถีคิดของพ่อกับแม่ว่า ต้องการสร้างโรงเรียนให้การศึกษาแก่บุตรหลานในชุมชนตนเอง ที่บ้านกุดแคนหมู่ 6 ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ครอบครัวปู่ทวดครูสิงห์และแม่สง่า ฤทธิเดช ได้ร่วมกันจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์แม่สง่า ฤทธิเดช เปิดสอนพิเศษให้กับนักเรียนในชุมชนตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยเปิดทำการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 80 คน จาก 12 หมู่บ้าน เปิดเรียนวันเสาร์ และวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.30 น.-12.30น.โดย โดยห้องเรียนใช้บริเวณห้องโถงข้างบ้าน และสวนหลังบ้านใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ

 โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสารสนเทศเพื่อการศึกษา

สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการคลิกที่นี่

โครงการเรียนรู้เชิงวิชาการจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
 ณ. “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์”

 โครงการบ้านหลังเรียน “แหล่งเรียนรู้ชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์” บ้านกุดแคน ต.หนองโน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสานต่ออุดมการณ์ของ “ปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช” อดีตครูประชาบาลที่มีความต้องการสร้างโรงเรียนให้ชุมชน และเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนไปทำกิจกรรมเสี่ยง ด้วยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อกันเด็กและเยาวชนไม่ให้หลงทางเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงในสังคม ให้หันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ภายใต้แนวคิดเด็กนำผู้ใหญ่หนุนโดยมีดร.ประสพสุข ฤทธิเดช หรือ “อาจารย์ป้าต๋อย” ผู้อำนวยการและผู้ประสานงานแหล่งเรียนรู้ชุมชนฯ สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการคลิกที่นี่
นิทานเรื่อง แดงเล็กหลงทาง แต่งโดย นางสาวปริยากร ไชยสง รหัสนักศึกษา 533410010317 จำนวน 12 หน้า 1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
สามารถดาวน์โหลดได้ที่คลิกที่นี่

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง





            การอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง 


1. ความหมายของบทร้อยกรอง 
บทร้อยกรอง หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์โดยมีกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความครึกครื้น และมีความไพเราะแตกต่างไปจากถ้อยคำธรรมดา ในการอ่านบทร้อยกรองนั้น เราเรียนกว่า “การอ่านทำนองเสนาะ”

2. ความหมายของ “การอ่านทำนองเสนาะ” 
การอ่านทำนองเสนาะคือ วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

( พจนานุกกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 528 )

บางคนให้ความหมายว่า การอ่านทำนองเสนาะ คือ การอ่านตามทำนอง ( ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว ) เพื่อให้เกิดความเสนาะ ( เสนาะ , น่าฟัง , เพราะ , วังเวงใจ )

3. วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ 
การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง ฉะนั้นทำนองเสนาะต้องอ่านออกเสียง เสียงทำให้เกิดความรู้สึก – ทำให้เห็นความงาม – เห็นความไพเราะ – เห็นภาพพจน์ ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียงจึงจะเข้าถึงรสและความงามของบทร้อยกรองที่เรียนกว่า อ่านแล้วฟังพริ้งเราะเสนาะโสต การอ่านทำนองเสนาะจึงมุ่งให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง

4. ที่มาของการอ่านทำนองเสนาะ 
เข้าใจว่า การอ่านทำนองเสนาะมีมานานแล้วแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เท่าที่ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พุทธศักราช 1835 หลักที่ หนึ่ง บรรทัดที่ 18 – 20 ดังความว่า “…ด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่นใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน…” จากข้อความดังกล่าว ฉันทิชย์ กระเสสินธุ์ กล่าวว่า เสียงเลื้อน เสียงขับ คือการ้องเป็นทำนองเสนาะ ส่วน ทองสืบ ศุภะมารค ชี้แจงว่า เลื้อนตรงกับภาษาไทยถิ่นว่า “เลิ่น” หมายถึง การอ่านหนังสือเอื้อนเสียงเป็นทำนอง ซึ่งคล้ายกับที่ ประเสริฐ ณ นคร อธิบายว่า “เลื้อน” เป็นคำภาษาถิ่นแปลว่า อ่านทำนองเสนาะ โดยอ้างถึง บรรจบ พันธุเมธา กล่าวว่า คำนี้เป็นภาษาถิ่นของไทยในพม่า ถือไทยในรัฐฉานหรือไทยใหญ่นั่นเอง จากความคิดเห็นของผู้รู้ประกอบกับหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงดังกล่าว ทำให้เชื่อกันว่าการอ่านทำนองเสนาะของไทยมีมานานหลายร้อยปีแล้ว โดยเรียกเป็นภาษาไทยถิ่นว่า “เลื้อน”

ที่มาหรือต้นเค้าของการอ่านทำนองเสนาะพอจะสันนิษฐานได้ว่า น่าจะมีบ่อเกิดจากการดเนินวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยก่อน ที่มีความเกี่ยวกันกับการร้องเพลงทำนองต่าง ๆ ตลอดมา ทั้งนี้จากเหตุผลที่ว่า คนไทยมีนิสัยชอบพูดคำคล้องจองให้มีจังหวะด้วยลักษณะสัมผัสเสมอ ประกอบกับคำภาษาไทยที่มีวรรณยุกต์กำกับจึงทำให้คำมีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนดนตรี เมื่อประดิษฐ์ทำนองง่าย ๆ ใส่เข้าไปก็ทำให้สามารถสร้างบทเพลงร้องขึ้นมาได้แล้ว ดังนั้นคนไทยจึงมีโอกาสได้ฟังและชื่นชมกับการร้องเพลงทำนองต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตายทีเดียว

ศิลปะการอ่านทำนองเสนาะขึ้นอยู่กับคามสามารถของผู้อ่าน และความไพเราะของบทประพันธ์แต่ละประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้อ่านทำนองเสนาะจึงต้องศึกษาวิธีการอ่านให้ไพเราะและต้องหมั่นฝึกฝนการอ่านจนเกิดความชำนาญ

อนึ่งศิลปะการอ่านทำนองเสนาะอยู่ที่ตัวผู้อ่านต้องรู้จัก วิธีการอ่านทอดเสียง โดยผ่อนจังหวะให้ช้าลง การเอื้อนเสียง โดยการลากเสียงช้า ๆ เพื่อให้เข้าจังหวะและให้หางเสียงให้ไพเราะ การครั่นเสียง โดยทำเสียงสะดุดสะเทือนเพื่อความไพเราะเหมาะสมกับบทกวีบางตอน การหลบเสียง โดยการหักเสียงให้พลิกกลับจากเสียงสูงลงมาเป็นเสียงต่ำ หรือจากเสียงต่ำขึ้นไปเป็นเสียงสูง เนื่องจากผู้อ่านไม่สามารถที่จะดำเนินตามทำนองต่อไปได้ เป็นการหลบหนีจากเสียงที่เกินความสามารถ จึงต้องหักทำนองพลิกกลับเข้ามาดำเนินทำนองในเขตเสียงของตน และการกระแทกเสียงโดยการอ่านกระชากเสียงให้ดังผิดปกติในโอกาสที่แสดงความโกรธหรือความไม่พอใจหรือเมื่อต้องการเน้นเสียง

(มนตรี ตราโมท 2527 : 50 )

5. รสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ 
1.1 รสถ้อย ( คำพูด ) แต่ละคำมีรสในคำของตัวเอง ผู้อ่านจะต้องอ่านให้เกิดรสถ้อย

ตัวอย่าง

สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม
กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม
แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดที่เข็ดขม
ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย

(พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ)

1.2 รสความ ( เรื่องราวที่อ่าน ) ข้อความที่อ่านมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น โศกเศร้า สนุกสนาน ตื่นเต้น โกรธ รัก เวลาอ่านต้องอ่านให้มีลีลาไปตามลักษณะของเนื้อเรื่องนั้น ๆ

ตัวอย่าง : บทโศกตอนที่นางวันทองไปส่งพลายงามให้ไปหาย่าทองประศรีที่สุพรรณบุรี

ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล
สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา
เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา
แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์ โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง

(เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม : สุนทรภู่ )

ตัวอย่าง : บทสนุกสนาน ในนิราศพระบาทขณะมีมวยปล้ำ

ละครหยุดอุตลุดด้วยมวลปล้ำ ยืนประจำหมายสู้เป็นคู่ขัน
มงคลใส่สวมหัวไม่กลัวกัน ตั้งประจันจดจับขยับมือ
ตีเข้าปับรับโปกสองมือปิด ประจบติดเตะผางหมัดขว้างหวือ
กระหวัดหวิดหวิวผวาเสียงฮาฮือ คนดูอ้อเออกันสนั่นอึง

(นิราศพระบาท : สุนทรภู่ )

1.3 รสทำนอง ( ระบบเสียงสูงต่ำซึ่งมีจังหวะสั้นยาว ) ในบทร้อยกรองไทยจะประกอบด้วยทำนองต่าง ๆ เช่น ทำนองโคลง ทำนองฉันท์ ทำนองกาพย์ ทำนองกลอน และทำนองร่าย เป็นต้น ผู้อ่านจะต้องอ่านให้ถูกต้องตามทำนองของร้อยกรองนั้น เช่น โคลงสี่สุภาพ

สัตว์ พวกหนึ่งนี้ชื่อ พหุบา ทาแฮ
มี เอนกสมญา ยอกย้อน
เท้า เกิดยิ่งจัตวา ควรนับ เขานอ
มาก จวบหมิ่นแสนซ้อน สุดพ้นประมาณฯ

( สัตวาภิธาน : พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยากูร )

1.4 รสคล้องจอง ในบทร้อยกรองต้องมีคำคล้องจอง ในคำคล้องจองนั้นต้องให้ออกเสียงต่อเนื่องกันโดยเน้นสัมผักนอกเป็นสำคัญ เช่น

ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ พระสรรเพชรโพริญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน

(นิราศภูเขาทอง : สุนทรภู่)

1.5 รสภาพ เสียงทำให้เกิดภาพ ในแต่ละคำจะแฝงไปด้วยภาพ ในการอ่านให้เห็นภาพต้องใช้เสียง สูง – ต่ำ ดัง - ค่อย แล้วแต่จะให้เกิดภาพอย่างไร เช่น

“มดเอ๋ยมดแดง เล็กเล็กเรี่ยวแรงแข็งขยัน
“สุพรรณหงส์ทรงพูดห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์”
“อยุธยายศล่มแล้ว ลอยสวรรค์ ลงฤา”

6. หลักการอ่านทำนองเสนาะ มีดังนี้ 
1. ก่อนอ่านทำนองเสนาะให้แบ่งคำแบ่งวรรคให้ถูกต้องตามหลักคำประพันธ์เสียก่อนโดยต้องระวังในเรื่องความหมายของคำด้วย เพราะคำบางคำอ่านแยกคำกันไม่ได้ เช่น

“สร้อยคอขนมยุระ ยูงงาม”
(ขน-มยุระ , ขนม-ยุระ)

“หวนห่วงม่วงหมอนทอง อีกอกร่องรสโอชา
(อีก-อก-ร่อง , อี-กอ-กร่อง)

“ดุเหว่าจับเต่าร้างร้อง เหมือนจากห้องมาหยารัศมี”
(จับ-เต่า-ร้าง , จับ-เต่า )

“แรงเหมือนมดอดเหมือนกา กล้าเหมือนหญิง”
(เหมือน-มด , เหมือน-มด-อด )

2. อ่านออกเสียงตามธรรมดาให้คล่องก่อน

3. อ่านให้ชัดเจน โดยเฉพาะออกเสียง ร ล และคำควบกล้ำให้ถูกต้อง เช่น

“เกิดเป็นชายชาตรีอย่าขี้ขลาด บรรยากาศปลอดโปร่งโล่งสมอง
หยิบน้ำปลาตราสับปะรดให้ทดลอง ไหนเล่าน้องครีมนวดหน้าทาให้ที
เนื้อนั้นมีโปรตีนกินเข้าไว้ คนเคราะห์ร้ายคลุ้มคลั่งเรื่องหนังผี
ใช้น้ำคลองกรองเสียก่อนจึงจะดี เห็นมาลีคลี่บานหน้าบ้านเอย”

4. อ่านให้เอื้อสัมผัส เรียกว่า คำแปรเสียง เพื่อให้เกิดเสีงสัมผัสที่ไพเราะ เช่น

พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา
( อ่านว่า พระ-สะ-หมุด-สุด-ลึก-ล้น คน-นะ-นา )

ข้าขอเคารพอภิวาท ในพระบาทบพิตรอดิสร
( อ่านว่า ข้า-ขอ-เคา-รบ-อบ-พิ-วาด ใน-พระ-บาด-บอ-พิด-อะ-ดิด-สอน )

ขอสมหวังตั้งประโยชน์โพธิญาณ
( อ่านว่า ขอ-สม-หวัง-ตั้ง-ประ-โหยด-โพด-ทิ-ยาน )

5. ระวัง 3 ต อย่าให้ตกหล่น อย่าต่อเติม และอย่าตู่ตัว

6. อ่านให้ถูกจังหวะ คำประพันธ์แต่ละประเภทมีจังหวะแตกต่างกัน ต้องอ่านให้ถูกวรรคตอนตามแบบแผนของคำประพันธ์นั้น ๆ เช่น มุทิงคนาฉันท์ ( 2-2-3 )

“ป๊ะโทน / ป๊ะโทน / ป๊ะโท่นโท่น       บุรุษ / สิโอน / สะเอวไหว
อนงค์ / นำเคลื่อน / เขยื้อนไป       สะบัด / สไบ / วิไลตา

7. อ่านให้ถูกทำนองของคำประพันธ์นั้น ๆ ( รสทำนอง )

8. ผู้อ่านต้องใส่อารมณ์ตามรสความของบทประพันธ์นั้น ๆ รสรัก โศก ตื่นเต้น ขบขัน โกรธ แล้วใส่น้ำเสียงให้สอดคล้องกับรสหรืออารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น

9. อ่านให้เสียงดัง ( พอที่จะได้ยินกันทั่วถึง ) ไม่ใช่ตะโกน

10. ถ้าเป็นฉันท์ ต้องอ่านให้ถูกต้องตามบังคับของครุ - ลหุ ของฉันท์นั้น ๆ

ลหุ คือ คำที่ผสมด้วยสระเสียงสั้น และไม่มีตัวสะกด เช่น เตะ บุ และ เถอะ ผัวะ ยกเว้น ก็ บ่อ นอกจากนี้ถือเป็นคำครุ ( คะ-รุ ) ทั้งหมด
ลหุ ให้เครื่องหมาย ( ุ ) แทนในการเขียน
ครุ ใช้เครื่องหมาย ( ั ) แทนในการเขียน

ตัวอย่าง : วสันตดิลกฉันท์ 14 มีครุ - ลหุ ดังนี้


อ้าเพศก็เพศนุชอนงค์ อรองค์ก็บอบบาง
( อ่านว่า อ้า - เพด – ก้อ – เพด – นุ – ชะ – อะ – นง อะ – ระ – อง – ก้อ – บอบ – บาง )

ควรแต่ผดุงสิริสะอาง ศุภลักษณ์ประโลมใจ
( อ่านว่า ควน – แต่ – ผะ – ดุง – สิ – หริ – สะ – อาง สุ – พะ – ลัก – ประ – โลม – ใจ )

11. เวลาอ่านอย่าให้เสียงขาดเป็นช่วง ๆ ต้องให้เสียงติดต่อกันตลอด เช่น
“วันจันทร์ มีดารากร เป็นบริวาร เห็นสิ้นฟ้า ในป่าท่าธาร มาลีคลี่บาน ในก้านอรชร” เวลาจบให้ทอดเสียงช้า ๆ

7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ 
1.ช่วยให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
2.ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง ( อาการรู้สึกจับใจอย่างลึกซึ้ง )
3.ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน
4.ช่วยให้จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ
5.ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือกเย็น ( ประโยชน์โดยอ้อม )
6.ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม ในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกต่อไป

หนังสือจินดามณี

                                                                       




ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นการเรียนการสอนภาษาไทยคงมีลักษณะแบบเดี ยวกับสมัยสุโขทัย เพราะเหตุว่า ชาวไทยในอยุธยานั้นถึงแม้ว่า จะแยกตัวออกมาเป็นอิสระ สมัยพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ. 1893) นั้น หาได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มขึ้นมาใหม่ไม่ แต่ยังสืบทอดวัฒนธรรมไทยทางด้านภาษาและตัวอักษรไทยอาณาจักรสุโข ทัยทั้งสิ้น ดังปรากฏว่าจารึกลานเงินที่วัดส่องคบ (ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 3, กรุงเทพฯ , โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, 2508) หลักเมืองชัยนาทเก่า (จารึกหลักที่ 44,50 และ 51) เป็นจารึกที่มีอายุมากที่สุดพบอยู่ในบริเวณอาณาจักรอยุธยานั้น รูปร่างตัวอักษรมีลักษณะแบบเดียวกับอักษรไทยที่ใช้อยู่ในอาณาจั กรสุโขทัยสมัยพระยาลิไทยแสดงว่าประชาคมกรุงศรีอยุธยารับตัวอักษ รไทยสุโขทัยมาใช้ตั้งแต่เริ่มตั้งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาหรือก่อ นหน้านั้นแล้ว
      ฉะนั้น แบบเรียนในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงใช้แบบสุโขทัยนั่นเอง และการจัดการเรียน การสอนคงจะสืบเนื่องแบบอย่างมาจากสุโขทัยเช่นกัน คือ สำนักเรียนวัดเป็นส่วนสำคัญในการเรียนทั่วไป และสำนักราชบัณฑิตก็จัดสอนหนังสือแก่เจ้าขุนมูลนาย
      ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ชาวตะวันตกได้เริ่มเข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ชาวตะวันตกบางกลุ่มได้มีเจตนาที่จะนำพระคริสตธรรมเข้ามาเผยแพร่ ในประชาคมอยุธยาด้วย พวกบาทหลวงได้รับการสนับสนุนจากราชสำนักสำคัญ ๆ ในยุโรปมาเผยแพร่คริสตศาสนา ในบางรัชสมัยบาทหลวงได้รับการสนับสนุนในการสอนศาสนาแก่ประชาคมอ ยุธยาจากราชสำนักไทย ได้จัดตั้งสำนักสอนพระคริสตธรรมและค่อยพัฒนามาเป็นโรงเรียน คือ เริ่มสอนพระคริสตธรรมแก่เยาวชนไทยควบคุ่กับการสอนภาษาต่างประเท ศและภาษาไทยแก่เยาวชนไทย คณะบาทหลวงได้รับสิทธิเสรีในการจัดการสอนอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. 2199-2213) ถึงแม้ว่าเราจะไม่ทราบรายละเอียดในการจัดการเรียนการสอนในสมัยน ั้นก็ตาม แต่ก็พออนุมานได้ว่า เด็นไทยจำนวนไม่น้อยที่สามารถเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสจนสามารถใช้ก ารได้อย่างดีและสามารถที่จะไปศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสไ ด้ดังปรากฏหลักฐานในจดหมายราชทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่มีพระย าโกษาธิบดีเป็นหัวหน้าคณะ ได้กล่าวฝากฝังนักเรียนไทยที่ศึกษาอยู่ที่กรุงปารีส ซึ่งได้ไปศึกษาพร้อมกับคณะราชทูตไทยในครั้งนั้น
      การที่สำนักหมอสอนศาสนาเริ่มมีบทบาทในการเรียนการสอนหนังสือมาก ขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาไทยในสม ัยสมเด็จพระนารายณ์อยู่ไม่น้อย ดังที่พยายามจัดทำแบบเรียนให้เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการสอนหนังสือแก่เยาวชนไทย พระโหราธิบดีจึงได้แต่งแบบเรียนชื่อ "จินดามณี" นับว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทยหนังสือแบบเรียนจินดามณีเล่มนี้คงใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยต่อ ๆ มาในสำนักราชบัณฑิตและสำนักเล่าเรียนวัดจนได้ศึกษาเล่าเรียนกัน อย่างกว้างขวาง


หนังสือแบบเรียนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

หนังสือจินดามณี เป็นหนังสือแบบเรียนเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระโหราธิบดี กวีในสมัยพระนารายณ์มหาราช ได้เรียบเรียงไว้เป็นหนังสือตำราเรียนหนังสือไทย เนื้อหาของหนังสือว่าด้วย ระเบียบของภาษา สอนอักขรวิธีเบื้องต้น พร้อมอธิบายวิธีแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ 

จินดามณีถูกใช้เป็นตำราเรียนจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ก่อนที่จะมีการปฏิรูปการศึกษาในสมัย ร .5 จินดามณีมีหลายฉบับ เช่น ฉบับโหราธิบดี ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ฉบับพระเจ้าบรมโกศ ฉบับหมอบรัดเล เป็นต้น 

จินดามณี ฉบับหมอบรัดเล เป็นหนังสือแบบเรียนที่ ดร . แดน บีช บรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการพ ิมพ์ของไทย จัดพิมพ์เมื่อปี 2422 โดยคัดสรรมาจากตำราเรียนเก่าหลายเรื่องและสอดแทรกเนื้อหาสำคัญท ี่เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยมาไว้ในเล่มเดียวกัน เช่น ประถม ก กา ว่าด้วยการใช้และสะกดตัวอักษร จินดามุนี ว่าด้วยการประพันธ์โคลง เช่น โคลงสุภาพ ประถมมาลา เป็นตำราสั่งสอนวิชาหนังสือภาษาไทยให้ถูกต้องตามแบบจินดามณี ปทานุกรม เป็นส่วนราชาศัพท์ ได้เพิ่ม ศัพท์กัมพูชา ศัพท์ชวา เป็นต้น

ประถมจินดามณี เล่ม 1, เล่ม 2

ระถมจินดามณี เล่ม 1 
      หนังสือประถมจินดามณี เล่ม 1 ก็คือ จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีที่แต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยอยุธยาตอนปลายนั่นเอง ประถมจินดามณี เล่ม 1 ยังคงใช้เป็นหนังสือแบบเรียนที่สำคัญของสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ประถมจินดามณี เล่ม 2 
      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงแต่งหนังสือประถมจินดามณี เล่ม 2 ขึ้น เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชปรารภให้แต่งเพื่อใช้สอนพระราชโอรส และหมู่ข้าราชบริพารรวมเวลาตั้งแต่ทรงพระราชปรารภ จนทรงนิพนธ์เสร็จ ราว 6 เดือนเศษ (ธนิต อยู่โพธิ์ 2502,124) กรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงอธิบายว่า เป็นการแต่งซ้อนจินดามณีของเก่า จึงเติมชื่อให้เป็น “จินดามณี เล่ม 2”
      ลักษณะการแต่ง การแต่งใช้ทั้งฉันท์ กาพย์ ร่ายและโคลง มีความเรียงอธิบายเป็นร้อยแก้ว
      สาระสำคัญ เนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ
             1. กฎเกณฑ์ทางอักขรวิธี กล่าวถึงสระ พยัญชนะ ไตรยางค์ การแจกลูกทุกตัว อักษร ทุกแม่ตัวสะกด และแจกอักษรกล้ำ แล้วผันวรรณยุกต์ตามอักษรทั้ง 3 หมู่ การใช้เครื่องหมาย การแผลงอักษร
             2. การแต่งร้อยกรอง ขึ้นต้นด้วยร่ายสุภาพ แล้วอธิบายหลักการแต่งร้อยกรอง

หลักการวิจารณ์วรรณกรรม



     หลักการวิจารณ์วรรณกรรม 

การวิจารณ์วรรณกรรมมีหลายแนวทาง ก็จะลองเอาที่เรียนมา (เล็กเชอร์ วิชาวรรณคดีทัศนา) มาพิมพ์ให้อ่านกันค่ะ เป็นแนวทางหนึ่ง
การวิจารณ์วรรณกรรม หมายถึง การให้คำติชม ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปะ (ในที่นี้คือวรรณกรรม งานเขียน)ว่ามีคุณค่าหรือขาดตกบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์วรรณกรรมเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือมีระเบียบมีกฎเกณฑ์ไปตามกระบวนเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการแปลกใหม่ การวิจารณ์เป็นการะบวนการการสื่อสาร ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นฝ่ายเดียว การวิจารณ์เป็นเสาหลักของวัฒนธรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์กัน คือต้องแลกเปลี่ยนกันนั่นแหละค่ะ
เครื่องมือในการวิจารณ์ เช่น
Aesthetic สุนทรียศาสตร์ คือศาสตร์แห่งการเรียนรู้ความงามศิลปะ วิเคราะห์ในแง่ความงามเป็นหลัก
literary theory ทฤษฎีวรรณคดี ศาสตร์ของการศึกษาว่าด้วยองค์ประกอบคุณสมบัติ และการประเมินค่า
การวิจารณ์วรรณกรรมมีหลายแนวทาง ทฤษฎีต่างๆมีเยอะบึ้ม เช่นใช้จิตวิทยาในการวิจารณ์วรรณกรรม กะสืบไปถึงคนเขียนเลย เรียกว่าจิตวิเคราะห์ ว่าเขาคิดยังไงถึงเขียนออกมาแบบนี้ นักเขียนบางคนใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องระบายความรู้สึกเก็บกดจากจิตใต้สำนึกก็มี
วิธีวิจารณ์วรรณกรรมมีสองวิธี คือ
1. Practicakl criticism เชิงปฏิบัติ เน้นวิเคราะห์องค์ประกอบงานเขียน ดูว่าข้อ 1-4 สัมพันธ์กับข้อ 5 หรือแก่นเรื่องหรือไม่
องค์ประกอบงานเขียนมีดังนี้ค่ะ
1.รูปแบบการประพันธ์ เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง นิยาย บทละคร
2.โครงเรื่อง การใช้กลวิธีเล่าเรื่องเช่นเล่าเรื่องที่เกิดทีหลัง แล้วย้อนกลับมาก่อนหน้า (flashback)
3. ตัวละคร เช่น
-แบนราบ (flat) พวกดีก็ดีหมด ชั่วก็ชั่วหมด
-ซับซ้อน (round) มีดีชั่วปะปน นิสัยเปลี่ยนตามเหตุการณ์ สมจริง เหมือนคนจริงๆ
-ตัวละครธรรมเนียมนิยม (stock) จำพวกเป็นแบบฉบับ นางอิจฉาต้องกรี๊ด อะไรประมาณนี้
4. ฉาก สภาพภูมิประเทศ สถานที่ อาชีพ ชีวิตประจำวันของตัวละคร เวลา ยุค ความสัมพันธ์ระหว่างฉากกับตัวละคร
5. แก่นเรื่อง เรื่องนี้คนอ่านจะสื่ออะไร เหมือนสกัดสมุนไพร คือต้องสกัดจากเนื้อเรื่องออกมา
2. Theoretical criticism เชิงทฤษฎี เน้นการประยุกต์วรรณกรรมกับทฤษฎี แนวคิดต่างๆ เช่น จิตวิเคราะห์ มาร์กซิสม์ วรรณกรรมหลังอณานิคม วรรณกรรมชายขอบ เพศสถานะ อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ชีวประวัติผู้แต่ง ดูแก่นเรื่องโดยเฉพาะ การเปรียบเทียบ โดยเจาะประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
เช่น บทกวีเปิบข้าว (เปิบข้าวทุกคราวคำ ฯลฯ จิตร ภูมิศักดิ์) ประยุกต์กับแนวคิดมาร์กซิสม์ได้ แนวคิดนี้พูดถึงความเท่ากัน ชาวนากับชนชั้นกลาง แสดงการถูกเอารัดเอาเปรียบของชาวนา เป็นต้น
หลักการเขียนงานวิจารณ์
1.อ่านงานเขียนอย่างละเอียด
2.เข้าใจความหมายงานเขียน
3.วิเคราะห์ส่วนต่างๆของงานเขียนตามเชิงปฏิบัติ
4.เลือกประเด็นสำคัญ ไม่กว้างเกิน ข้อมูลเพียงพอ
5.ตั้งสมมติฐานในการตอบ
6.หาหลักฐานสนับสนุน
7.หาข้อสรุป

ย้ำอีกทีนะคะว่า นี่เป็นแนวทางหนึ่งในการวิจารณ์วรรณกรรม มีอีกหลายวิธี หลายแนวทาง ตรงนี้เอาเลกเชอร์ที่เรียนมาก็น่าจะเพียงพอต่อการตอบคำถามของน้องเฟิร์นที่ว่า วรรณกรรมเขาวิจารณ์กันอย่างไร ทั้งนี้ คนที่วิจารณ์ก็ต้องมีความคิดกว้างไกล มีมุมมองที่หลากหลายและเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงจะเป็นผู้วิจารณ์ที่ดี
ตั้งกระทู้ได้ยังหว่า งุบงิบงุบงิบ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมและประเพณีไทย



วัฒนธรรมและประเพณีไทย


ที่มาของวัฒนธรรมไทย
  • สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนไทยได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ เพ็ญเดือน 11 และเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน อันเป็นระยะเวลา ที่ น้ำไหลหลากมาจากทางภาคเหนือของประเทศ คนไทยจึงจัดทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด "ประเพณีลอยกระทง"   นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ  อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง  เช่น     ประเพณีแข่งเรือ
  • ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (agrarian society) กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่น เต้นกำรำเคียว เป็นต้น
  • ค่านิยม (Values) กล่าวได้ว่า "ค่านิยม" มีความเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และ "ค่านิยม" บางอย่างได้กลายมาเป็น "แกน" ของวัฒนธรรมไทยกล่าวคือ วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ
  • การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) วัฒนธรรมทาง หนึ่ง ย่อม แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมมิได้เกิดขึ้นมาใน ภาชนะ ที่ถูกผนึกตราบเท่าที่มนุษย์ เช่น นักท่องเที่ยว พ่อค้า ทหาร หมอสอนศาสนา และผู้อพยพยังคง ย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง ประจักษ์ พยานในเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าน้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก

  • ความสำคัญของวัฒนธรรม
            วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูกพิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้

    หน้าที่ของวัฒนธรรม
     วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กันไปในแต่ละสังคม เช่น วัฒนธรรมอิสลามอนุญาตให้ชาย (ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและ ให้ความ ยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โดยไม่เกิด 4 คน แต่ห้ามสมสู่ ระหว่าง เพศเดียว กัน อย่างเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เพียง 1 คน แต่ไม่มีบัญญัติห้าม ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ฉะนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัวจึงอาจแตกต่างกันไป
    วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์  พฤติกรรมของคน จะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการพบปะทักทายของ ไทย ใช้ในการสวัสดีของชาวตะวันตกทั่วไปใช้ในการสัมผัสมือ ของชาวทิเบตใช้การแลบลิ้น ของชาว มุสลิมใช้การกล่าวสลาม เป็นต้น
    วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคม สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา  ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน เป็นต้น ตลอดจน ผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน 

    ประเพณีไทย อารยธรรมไทย

               
      ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น   ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ   ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา
    และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย   เช่น
            
            ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
            ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร          
            ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
            ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น นอกจากนี้  
    ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เรา ... คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป








    10 เมืองน่าอยู่ของไทย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า 



    ปางอุ๋ง สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติในเมืองแม่ฮ่องสอน

           เราอาจเคยได้ยินเรื่องการจัดอันดับความน่าอยู่ของเมืองจากทั่วโลกกันมาบ้าง... รู้ไหมว่า ในเมืองไทยเองก็มีการจัดอันดับเมืองน่าอยู่จากทั่วประเทศด้วยเช่นกัน
         
           โดยสถาบันที่จัดทำเรื่องดังกล่าวคือ "สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา" หรือ สทพ.(LDI) ซึ่งเป็นมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ที่เรียกงานของพวกเขาว่าเป็นองค์กรเชื่อมต่อ ที่เชื่อมต่ออดีต ปัจจุบันและอนาคต เชื่อมต่อแนวคิด นโยบาย และการปฏิบัติเชื่อมต่อหรือการถักทอทางสังคมทำให้เกิดพลังทางสังคม
         
           สทพ.ได้ทำการจัดอันดับเมืองน่าอยู่จากทั่วประเทศ เมื่อปลายปีที่แล้ว(2551) โดย"เมืองน่าอยู่-ชุมชนน่าอยู่" ในความหมายของ"ดัชนีความน่าอยู่"ของเมืองนี้ หมายถึง เทศบาลที่น่าอยู่สำหรับประชากรผู้อยู่อาศัยและผู้ท่องเที่ยวผ่านทาง ทั้งในมิติความปลอดภัย มิติความสะอาด มิติความมีคุณภาพชีวิตที่ดี มิติการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล และมิติความเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมเป็น 5 มิติในการพิจารณาตัวชี้วัด โดยได้ทำการวิเคราะห์ดัชนีความน่าอยู่ของเทศบาลเมือง 124 แห่ง ทั่วประเทศ ผลปรากฏว่ามี 10 เมืองน่าอยู่ที่ติดอันดับดังต่อไปนี้
    เมืองน่าน กับวิถีอันสงบงาม

           อันดับ 10 "เมืองท่าบ่อ จ.หนองคาย" เมื่อปี พ.ศ. 2538 เป็นปีที่ได้มีการจัดตั้งเมืองท่าบ่อครบ 100 ปี ท่าบ่อหรือท่าบ่อเกลือในอดีต ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองท่าบ่อในรัชกาลที่ 5 อาชีพหลักของประชาชนชาวท่าบ่อคือทำการเกษตรกรรมและการประมง
         
           เมืองนี้มีหมู่บ้านประมงที่มีชื่อเสียงอยู่ที่ ต.กองนาง มีหมู่บ้านทำยาสูบ หมู่บ้านทำแผ่นกระยอที่ใช้ทำปอเปี๊ยะ มีหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดศรีชมภูองค์ตื้อ บ้านน้ำโมง ตำบลน้ำโมง พระพุทธรูปเก่าแก่สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2105 เป็นศูนย์รวมใจคนท่าบ่อ
         
           อันดับ 9 "เมืองกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ" หากเอ่ยชื่อเมืองกันทรลักษ์ อาจจะไม่คุ้นเคยกันสักเท่าไหร่ แต่ถ้าบอกว่า เป็นที่ตั้งของเมืองทางขึ้นสู่ "ปราสาทพระวิหาร"(กรณีพิพาทที่ไม่รู้เมื่อไหร่จะจบระหว่างไทย-กัมพูชา)เชื่อว่าหลายคนต้องร้องอ้อ...กันแน่นอน
         
           เมืองกันทรลักษ์เป็นเมืองชายแดน ที่มีความกลมกลืนทั้งทางด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของกันทรลักษ์คือ ผามออีแดง หน้าผาสูงราว 500 เมตร แบ่งเขตแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งปัจจุบันได้รับผลจากกรณีพิพาทพระวิหารทพให้ผามออีแดงต้องปิดไปโดยไม่มีกำหนด

    หอแก้วมุกดาหาร หนึ่งในสัญลักษณ์จังหวัดมุกดาหาร

           อันดับ 8 "เมืองนครพนม" นครพนมเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ ในเขตเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ อาทิ ทิวทัศน์ริมฝั่งโขง ตลาดอินโดจีน รวมถึงตึกรามอาคารบ้านเรือนเก่าที่ได้รับอิทธิพลตะวันตกที่แพร่เข้ามาในช่วง พ.ศ.2440-2460 บน "ถนนสุนทรวิจิตร" ไม่ว่าจะเป็นจวนผู้ว่าฯ หลังเก่า, อาคารโรงเรียนสุนทรวิจิตร, บ้านพักอัยการ, บ้านพักสรรพสามิต ตลอดจนบ้านพักอาศัยริมถนนหลายหลัง อีกทั้งยังมี"วัดนักบุญอันนา หนองแสง" อดีตศูนย์กลางของชาวคริสต์ริมฝั่งโขงอันสวยงาม
         
           ขณะที่ถ้าออกนอกเมืองไปยัง อ.ธาตุพนม ก็จะได้พบกับ"พระธาตุพนม" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนคนไทยต่างเคารพศรัทธา
         
           อันดับ 7 "เมืองแสนสุข จ.ชลบุรี" เทศบาลเมืองแสนสุข หรือ เมืองแสนสุข เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ห่างจากตัวเมืองชลบุรี ประมาณ 13 กิโลเมตร สถานที่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทยคือ "ชายหาดบางแสน" ห่างจากกรุงเทพมหานครไม่ไกลนัก เพียง 89 กิโลเมตรเท่านั้น
         
           ในปีพ.ศ. 2536 เทศบาลก็ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองลักษณะพิเศษ (เมืองท่องเที่ยว) หาดบางแสน ในบริเวณหาดมีเครื่องดื่ม และอาหารทะเลประเภทของกินเล่นหาบมาขาย เช่น ปลาหมึก หอยแมลงภู่ ห่อหมก ฯลฯ มีเก้าอี้ผ้าใบ ลูกยาง ว่ายน้ำให้เช่า มีห้องอาบน้ำจืดไว้บริการ ร้านอาหารหลายแห่งเรียงรายอยู่ริมหาด
         
           อันดับ 6 "เมืองพะเยา" เมืองเก่าแก่อันสงบงามท่ามกลางเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตวัฒนธรรมและธรรมชาติ เมืองนี้มีสถานที่น่าสนใจ อาทิ "วัดศรีโคมคำ" สถานที่ประดิษฐาน"พระเจ้าตนหลวง" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา "กว๊านพะเยา" ทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ แหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน
         
           นอกจากนี้ในจังหวัดพะเยายังเป็นจังหวัดที่มีอันซีนไทยแลนด์ถึง 2 แห่ง คือ "วัดพระเจ้านั่งดิน" และ "น้ำตกภูซาง"

    กว๊านพะเยา แหล่งประมงน้ำจืดสำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน
           อันดับ 5 "เมืองมุกดาหาร" หรือที่ชาวเมืองนิยมเรียกว่า "เมืองมุก" ตามเรื่องเล่าขานที่ว่ามีผู้พบเห็นดวงแก้วสดใสเปล่งปลั่งในขณะที่กำลังสร้างเมือง (พ.ศ.2331)
         
           มุกดาหารเป็นหนึ่งใน "ประตูสู่อินโดจีน" เพราะมีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 เชื่อมจังหวัดมุกดาหารกับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว
         
           เมืองนี้มีสิ่งน่าสนใจ อาทิ "หอแก้วมุกดาหาร" หนึ่งในสัญลักษณ์ของจังหวัดมุกดาหาร "ตลาดสินค้าอินโดจีน" ถ.สำราญชายโขง ศูนย์รวมสินค้าสารพัดอย่าง จากจีน รัสเซีย เวียดนาม ลาว ที่ขนถ่ายผ่านแขวงสะหวันนะเขต
         
           อันดับ 4 "เมืองพิจิตร" เมืองพญาชาละวัน ถิ่นกำเนิดนิทานเรื่อง ไกรทอง เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีความหมายว่า "เมืองงาม" ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก
         
           พิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ ในสมัยสุโขทัยปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและในศิลาจารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย
         
           พิจิตร เป็นที่ตั้งของ "บึงสีไฟ" บึงน้ำจืดขนาดใหญ่แหล่งพักผ่อนหย่อนใจของคนพิจิตร และพิจิตรยังมีอันซีนเมืองไทยอยู่ที่ "วัดโพธิ์ประทับช้าง" ที่สร้างขึ้นโดย พระเจ้าเสือ หรือ พระสรรเพชญ์ที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อเป็นที่ระลึกถึงมาตุภูมิของพระองค์ อีกด้วย
    วัดโพธิ์ประทับช้าง อันซีนแห่งเมืองพิจิตร

           อันดับ 3 "เมืองน่าน" อีกหนึ่งเมืองในล้านนาตะวันออกที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอมรวมจากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบ ทำให้เสน่ห์ของเมืองน่านยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้
         
           ผู้ที่ไปเมืองน่านจะพบกับสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมอันหลากหลาย อาทิ วัดภูมินทร์ วัดพระธาตุเขาน้อย วัดมิ่งเมือง พระธาตุแช่แห้งพระธาตุคู่เมือง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นต้น
         
           อันดับ 2 "เมืองแม่ฮ่องสอน" เมืองสามหมอก อันสวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อน เมืองนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวเด่นๆ อาทิ วัดพระธาตุดอยกองมู สถานที่ประดิษฐานพระธาตุดอยกองมู สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสามหมอก วัดจองคำ วัดจองกลาง โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง) อันสวยงามจนได้รับฉายาว่าเป็นหนึ่งใน “สวิตเซอร์แลนด์เมืองไทย”อุทยานแห่งชาติถ้ำปลา – ผาเสื่อ ที่มีปลาพลวงมากมายให้ชื่นชม
         
           ด้วยความน่าสนใจของเมืองอันสงบงามท่ามกลางธรรมชาติแห่งเขา จึงไม่แปลกที่เมืองแม่ฮ่องสอนจะติดอันดับ 2 ของเมืองน่าอยู่ในเมืองไทย
         
           อันดับ1 "เมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี" เทศบาลเมืองพนัสนิคม หรือ เมืองพนัสนิคม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เป็นเทศบาลขนาดกลางมีเนื้อที่ครอบคลุมตำบลพนัสนิคมทั้งตำบล อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 87 กม. ห่างจากตัวเมืองชลบุรี 22 กม.
         
           เมืองพนัสนิคม เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเคยรุ่งเรืองเมื่อสมัย 1,000 ปี มาแล้ว หรือสมัยที่ขอมยังเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรสุวรรณภูมิ
         
           ชาวพนัสนิคมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพาณิชยกรรม และหัตถกรรมที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับชาวพนัสนิคมเป็นอย่างมากคือ "การจักสาน" เช่น กระเป๋า ตะกร้า ฝาชี เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ เมืองพนัสนิคม เป็นเมืองที่ได้ชื่อว่า "เมืองสะอาด" ตามคำขวัญของเมือง โดยมีรางวัลต่างๆ ที่รับรองความสะอาดดังนี้ รางวัลพระราชทาน 3 ปีซ้อน พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2534
         
           และนั่นคือ 10 เมืองน่าอยู่ของไทย ที่แม้จะไม่ใช่เมืองในอุดมคติของใครหลายๆคน แต่ว่าก็เป็นเมืองทรงคุณค่าที่ทำให้รู้ว่า เมืองไทยเรานี้มีเมืองน่าอยู่ไม่เป็นรองชาติใดในโลกเลย.



    นี่แหละ...ไทย




    นี่แหละ...ไทย

    ๐สัจธรรมนำกาลผ่านเร็วยิ่ง
    เปลี่ยนทุกสิ่งไปตามความผกผัน
    เปลี่ยนวิถีชีวิตให้ติดพัน
    กับคืนวันล้ำหน้าแห่งสากล
    ๐ย้อนกลับไปไม่นานแต่กาลก่อน
    อยู่กินนอนเป็นแหล่งทุกแห่งหน
    ครอบครัวญาติใกล้ชิดสนิทตน
    ยืนอยู่บนนิยามความพอเพียง
    ๐อรุณทองส่องวิไลปลุกไก่ขัน
    ร้องประชันแจ่มใสได้ยินเสียง
    หมู่นกกาหากินบินรายเรียง
    ส่งสำเนียงผสมอย่างกลมกลืน
    ๐เสียงครกสากโขลกย้ำตำสนั่น
    ผู้หลับฝันจึงถูกปลุกให้ตื่น
    ควันโขมงเรือนบ้านเพราะถ่านฟืน
    ทุกวันคืนก็เป็นอยู่เช่นเดิม
    ๐ผักเคยเห็นเป็นแถวตามแนวป่า
    คนเก็บมาใส่จานอาหารเสริม
    แกล้มน้ำพริกปูปลาเข้ามาเติม
    เลิศรสเพิ่มของหวานอาหารคาว
    ๐พอเสร็จสรรพจับงอบกับจอบเสียม
    ต้องตระเตรียมมุ่งหน้าปะฟ้าขาว
    กับท้องทุ่งผืนป่าคันนายาว
    มีต้นข้าวให้แลเหลียวเขียวขจี
    ๐ถือปิ่นโตจูงควายสายกระดิ่ง
    เป็นเพื่อนพิงเล่นล้อพอสุขี
    พอเย็นย่ำกลับบ้านอาหารมี
    คือวิถี"อยู่อย่างไทย"เพียงไม่นาน
    ๐ปัจจุบัน..ควรตระหนักหลักเหตุผล
    อย่างหลงตนเริงรื่น"ลืมพื้นฐาน"
    เพราะหลงใหลในวัตถุเป็นสันดาน
    จึงเหลือการ.."จำลอง"ภาพของไทย



    คุณค่าภาษาไทย

          คุณค่าภาษาไทย



    ภาษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

    ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

    ชื่อภาษาและที่มาของภาษาไทย

    คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว ย เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

    กาพย์กลอน : คุณค่าภาษาไทย  ประพันธ์โดย : ครูพอเพียง

    ภาษาไทยเรานี้มีคุณค่า
    บรรพชนสรรค์มาใช้สื่อสาร
    มรดกทองส่องไทยงามตระการ
    จากวันวานสู่วันนี้ศักดิ์ศรีไทย

    ภาษาไทยภาษาชาติพิลาศลักษณ์
    จิตประจักษ์ความสำคัญอย่าหวั่นไหว
    ลักษณะเด่นเป็นสง่าค่าวิไล
    อนุรักษ์สืบไว้ให้มั่นคง

    คำควบกล้ำ ร, ล, ว อย่าเลยละ
    พยัญชนะเขียนให้ถูกปลูกเสริมส่ง
    อีกสระอย่าละเลยเฉยเมยลง
    วรรณยุกต์ผันได้ตรงเสียงดนตรี

    ราชาศัพท์สำหรับองค์ทรงภพแก้ว
    วัฒนธรรมเพริดแพร้วพิสุทธิ์ศรี
    เป็นระดับของภาษาสืบมามี
    หล่อหลอมรวมเป็นวิถีชีวีไทย

    ภาษาไทยเรานี้มีดีหนอ 
    ภาษาทอถักรักสมัครสมัย
    วรรณศิลป์พริ้งไพเราะเสนาะใจ
    บทกวีวาดไว้วิไลวรรณ

    เกิดเป็นไทยภูมิใจในภาษา
    เอกลักษณ์สืบมาน่ารังสรรค์
    ภูมิปัญญาปู่ย่าล้นท้นอนันต์ 
    คนไทยนั้นรู้คุณค่าภาษาไทย

    คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือ...





                              คุณค่าด้านวรรณศิลป์


    วรรณศิลป์ เป็นคุณสมบัติที่ทำให้งานประพันธ์ดีเด่น เป็นศิลปะของการเรียบเรียงซึ่งพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

    1. อารมณ์สะเทือนใจ คือบทนำความคิดในการแต่ง.

    2.จินตนาการ ซึ่งสร้างได้หลายแบบ คือ

          2.1  กล่าวตามประสบการณ์จริง

          2.2กล่าวโดยใช้โวหาร เช่น

              -  โวหารอุปมา เป็นการสรัางภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบ

              -โวหารอุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบโดยนัย

              - โวหารอติพจน์ เป็นการกล่าวเกินจริง เพื่อให้เห็นคุณค่า  

                  ด้านอารมณ์เป็นสำคัญ

              - โวหารอวพจน์ เป็นการกล่าวเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง แต่มี

                 ความหมายครอบคลุมทุกส่วน

              - โวหารนามนัย เป็นภาพพจน์ที่เรียกชื่อสิ่งหนึ่งโดยใช้

                 คำแทน

              -บุคลาธิษฐาน เป็นภาพพจน์ที่สมมติสิ่งต่างๆให้มีอากัปกิ

                 ริยาอาการเหมือนมนุษย์

              -ปฏิพจน์ เป็นการใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามนำมา

                กล่าวอย่างคล้องจอง

              - สัทพจน์ เป็นภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ    

         
     

    ต้นกำเนิดของษาไทย



    ต้นกำเนิดของษาไทย



    ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของคนไทยมาแล้วช้านาน ถึงแม้คนไทยจะถูกชาติอื่นรุกราน ต้องถอยร่นลงมาทางใต้  จนถึงที่อยู่ปัจจุบัน แต่คนไทยก็ยังรักษาภาษาของตนไว้ได้ หลักฐานแสดงว่าภาษาไทยเป็นภาษาของ คนไทยโดยเฉพาะ ก็คือ ภาษาไทย มีลักษณะพิเศษไม่ซ้ำแบบของภาษาใดในโลก ที่มีผู้กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นตระกูลเดียวกับภาษาจีน เนื่องจากเป็นภาษาคำโดดด้วยกัน และมีคำพ้องเสียงและความหมายเหมือนกันอยู่หลายคำ เช่น ขา โต๊ะ เก้าอี้ เข่ง หรือ จำนวนเลข การที่ภาษาไทยกับภาษาจีนมีลักษณะตรงกันบางประการดังกล่าว  ใช่ว่าภาษาไทยมาจากจีนหรือจีนมาจากไทย แต่คงเป็นเพราะชาติไทยกับจีนเคยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดช้านาน และคงเคยใช้อักษรจีนเขียนภาษาไทย ภาษาไทยกับจีนจึงมีส่วนคล้ายคลึงกันได้ ข้อสังเกตที่ว่า ภาษาไทยกับจีนเป็นคนละภาษาต่างหาก จากกันก็คือ ระเบียบการเข้าประโยคต่างกัน เช่น คำวิเศษณ์ในภาษาไทยส่วนใหญ่ อยู่หลังคำที่ประกอบหรือขยาย ส่วนภาษาจีน ส่วนใหญ่อยู่ข้างหน้า
              
                เมื่อไทยอพยพลงมาอยู่ในแหลมทอง ต้องเกี่ยวข้องกับชนเจ้าของถิ่นหลายชาติหลายภาษา เช่น ขอม มอญ ละว้า พม่า มลายู ต่อมาได้ติดต่อกับประเทศอื่นๆ ทางการค้าขาย ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น อินเดีย (บาลี สันสกฤต) ชวา เปอร์เซีย โปรตุเกส อังกฤษ เป็นต้น

               
    ภาษาของชาติต่างๆดังกล่าว จึงเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยเป็นอันมาก ภาษาต่างชาติที่ประสมอยู่ในภาษาไทยมากที่สุด คือ บาลีและสันสกฤต เรารับภาษาบาลีเข้ามาทางพุทธศาสนา และรับภาษาสันสกฤตทางศาสนาพราหมณ์ ภาษาอื่นที่เจืออยู่ในภาษาไทยมากรองลงมา คือ ภาษาขอม (เขมร) ทั้งนี้ เพราะขอมหรือเขมร เคยเป็นชาติที่มีอำนาจมากและนานที่สุดในคาบสมุทรอินโดจีน
                ลักษณะของภาษาไทย

            วิวัฒนาการของภาษาไทย
                    ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น ๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม และภาษาไทยปัจจุบันหรือภาษาไทยประสม ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง
                    ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว            

            ลักษณะภาษาไทยแท้
                    ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย  นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้
    1. คำส่วนมากเป็นคำโดด คือ คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ มือ แขน ช้าง ม้า ฯลฯ
    2. ไม่ค่อยมีคำควบกล้ำ
    3. คำขยาย อยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น บ้านใหญ่    พูดมาก ดียิ่ง  คำที่เขียนตัวหนาเป็นคำขยาย
    4. ถ้าต้องการ สร้าง คำใหม่ ใช้วิธีรวมคำมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคำประสมขึ้น เช่น โรงเรียน แม่น้ำ พ่อตา
    5. ในการเขียน ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราแม่ กก ใช้ ก สะกด  แม่ กน ใช้ น สะกด แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น นก กิน กบ
    6. ในการเขียน ไม่ใช้ตัวการันต์ คำทุกคำอ่านออกเสียงได้หมดทุกพยางค์
    7. ไม่มีหลักไวยกรณ์ คือ ระเบียบของภาษาแน่นอนเหมือนภาษาของบางชาติ เช่น บาลี สันสกฤต และอังกฤษ เป็นต้น กล่าวคือ ไม่มีระเบียบพิเศษเกี่ยวกับ พจน์ เพศ วิภัตติ ปัจจัย อุปสรรค กาล มาลา วาจก
    8. เป็นภาษามีเสียงดนตรี นิยมใช้ไม้วรรณยุกต์กำกับเสียง 
            ลักษณะภาษาไทยปัจจุบัน
                    เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้ เมื่อไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับภาษาของต่างชาติดังกล่าว ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้

    1. มีคำหลายพยางค์เพิ่มขึ้น
    2. มีคำควบกล้ำมากขึ้น
    3. มีการสร้างคำใหม่ตามวิธีการสมาส และสนธิของภาษาบาลีและสันสกฤต และตามวิธีแผลงคำตามอย่างภาษาเขมร
    4. ใช้ตัวสะกดไม่ค่อยตรงตามมาตรา ตามอย่างภาษาอื่น เช่น แม่ กก ใช้ ข ค ฆ สะกด แม่ กน ใช้ ญ ณ ร ล ฬ สะกด  แม่ กด ใช้ จ ช ฎ ฏ ฐ ฒ ต ถ ท ธ สะกดเพิ่มขึ้น
    5. มีตัวการัตน์เพิ่มขึ้น
            ลักษณะเด่นของภาษาไทย
                    ภาษาไทยไทม่ว่าจะเป็นภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยปัจจุบัน มีลักษณะเด่นผิดแผกจากลักษณะของภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ดังนี้

    1. ภาษาไทยประกอบด้วยคำโดด มากกว่าภาษาบาลี สันสกฤต หรือ อังกฤษ เช่น
      คำไทยบาลีอังกฤษ
      พ่อปิตุ father
      น้ำอุทกwater
      ฟ้านภาsky
    2. ไม่มีหลักไวยกรณ์  เช่นเกี่ยวกับ ปัจจัย อุปสรรค กาล เพศ พจน์ ฯลฯ  แน่นอนอย่างภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำโดยการลงปัจจัย เพื่อแสดงชนิดของคำ กาล เพศ พจน์ ฯลฯ ถ้าต้องการบอกชนิดของคำ ใช้คำมาเพิ่มข้างหน้า ถ้าต้อการบอก กาล เพศ พจน์ ใช้คำมาต่อข้างหน้าหรือข้างหลัง โดยไม่เปลี่ยนรูปคำเดิม เช่น
      เดินกริยาการเดินนาม
      ดีวิเศษณ์ความดี"
      กินอยู่กาลสามัญปัจจุบันกินแล้วอดีตกาลสมบูรณ์
      ช้างพลายเพศชายช้างพังเพศหญิง
      เด็กคนเดียวเอกพจน์เด็กหลายคนพหูพจน์

        คำบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ มีการเปลี่ยนรูปคำในตัวเพื่อแสดงหน้าที่กาล เพศ พจน์ ของคำ เช่น
      กร(ทำ) กริยาการก(ผู้ทำ) นามนาม
      รม(ยินดี) กริยารมณีย(น่ายินดี) คุณนาม
      กุมาโร(เด็กชายคนเดียว)กุมารา(เด็กชายหลายคน)
      กุมาโร(เด็กชาย)กุมารี(เด็กหญิง)
      คจฉติ(ย่อมไป)คโต(ไปแล้ว)
      die(ตาย) กริยาdeath(ความตาย) นาม
      man(คนผู้ชายคนเดียว)men(คนผู้ชายหลายคน)
      prince(เจ้าชาย)princess(เจ้าหญิง)
      work(ทำงาน)worked(ได้ทำงาน)
    3. ภาษาไทยเป็นภาษาเสียงดนตรี คือ เมื่อเสียงของคำสูงต่ำผิดไป ความหมายย่อมเปลี่ยนไปด้วย จึงจำต้องใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับคำไว้

         คา ข่า  ข้า  ค้า ขา มีความหมายแตกต่างกันแต่ละคำ
      ส่วนภาษาบาลีสันสกฤต หรือ อังกฤษ ไม่ใช่ภาษาเสียงดนตรี เมื่อเสียงคำเพี้ยนไปความหมายก็ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น

            เต (เขาทั้งหลาย)  ถึงแม้จะออกเสียงเป็น เต่ เต้ เต๊ เต๋ หรือ  car  (รถยนต์) ออกเสียงเป็น คา ข่า ข้า ค้า ขา ก็คงมีความหมายเช่นเดิม
    4. คำขยายในภาษาไทย ส่วนมากอยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น คนดี วิ่งเร็ว สูงมาก ส่วนคำภาษาอื่น เช่น บาลี สันสกฤต อังกฤษ หรือแม้แต่ภาษาจีน ซึ่งมัลักษณะคล้ายภาษาไทย ส่วนมากคำขยายอยู่ข้างหน้าตำที่มันขยาย