หลักการวิจารณ์วรรณกรรม
การวิจารณ์วรรณกรรมมีหลายแนวทาง ก็จะลองเอาที่เรียนมา (เล็กเชอร์ วิชาวรรณคดีทัศนา) มาพิมพ์ให้อ่านกันค่ะ เป็นแนวทางหนึ่ง
การวิจารณ์วรรณกรรม หมายถึง การให้คำติชม ให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปะ (ในที่นี้คือวรรณกรรม งานเขียน)ว่ามีคุณค่าหรือขาดตกบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์วรรณกรรมเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือมีระเบียบมีกฎเกณฑ์ไปตามกระบวนเหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการแปลกใหม่ การวิจารณ์เป็นการะบวนการการสื่อสาร ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นฝ่ายเดียว การวิจารณ์เป็นเสาหลักของวัฒนธรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์กัน คือต้องแลกเปลี่ยนกันนั่นแหละค่ะ
เครื่องมือในการวิจารณ์ เช่น
Aesthetic สุนทรียศาสตร์ คือศาสตร์แห่งการเรียนรู้ความงามศิลปะ วิเคราะห์ในแง่ความงามเป็นหลัก
literary theory ทฤษฎีวรรณคดี ศาสตร์ของการศึกษาว่าด้วยองค์ประกอบคุณสมบัติ และการประเมินค่า
Aesthetic สุนทรียศาสตร์ คือศาสตร์แห่งการเรียนรู้ความงามศิลปะ วิเคราะห์ในแง่ความงามเป็นหลัก
literary theory ทฤษฎีวรรณคดี ศาสตร์ของการศึกษาว่าด้วยองค์ประกอบคุณสมบัติ และการประเมินค่า
การวิจารณ์วรรณกรรมมีหลายแนวทาง ทฤษฎีต่างๆมีเยอะบึ้ม เช่นใช้จิตวิทยาในการวิจารณ์วรรณกรรม กะสืบไปถึงคนเขียนเลย เรียกว่าจิตวิเคราะห์ ว่าเขาคิดยังไงถึงเขียนออกมาแบบนี้ นักเขียนบางคนใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องระบายความรู้สึกเก็บกดจากจิตใต้สำนึกก็มี
วิธีวิจารณ์วรรณกรรมมีสองวิธี คือ
1. Practicakl criticism เชิงปฏิบัติ เน้นวิเคราะห์องค์ประกอบงานเขียน ดูว่าข้อ 1-4 สัมพันธ์กับข้อ 5 หรือแก่นเรื่องหรือไม่
องค์ประกอบงานเขียนมีดังนี้ค่ะ
1.รูปแบบการประพันธ์ เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง นิยาย บทละคร
2.โครงเรื่อง การใช้กลวิธีเล่าเรื่องเช่นเล่าเรื่องที่เกิดทีหลัง แล้วย้อนกลับมาก่อนหน้า (flashback)
3. ตัวละคร เช่น
-แบนราบ (flat) พวกดีก็ดีหมด ชั่วก็ชั่วหมด
-ซับซ้อน (round) มีดีชั่วปะปน นิสัยเปลี่ยนตามเหตุการณ์ สมจริง เหมือนคนจริงๆ
-ตัวละครธรรมเนียมนิยม (stock) จำพวกเป็นแบบฉบับ นางอิจฉาต้องกรี๊ด อะไรประมาณนี้
4. ฉาก สภาพภูมิประเทศ สถานที่ อาชีพ ชีวิตประจำวันของตัวละคร เวลา ยุค ความสัมพันธ์ระหว่างฉากกับตัวละคร
5. แก่นเรื่อง เรื่องนี้คนอ่านจะสื่ออะไร เหมือนสกัดสมุนไพร คือต้องสกัดจากเนื้อเรื่องออกมา
1. Practicakl criticism เชิงปฏิบัติ เน้นวิเคราะห์องค์ประกอบงานเขียน ดูว่าข้อ 1-4 สัมพันธ์กับข้อ 5 หรือแก่นเรื่องหรือไม่
องค์ประกอบงานเขียนมีดังนี้ค่ะ
1.รูปแบบการประพันธ์ เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง นิยาย บทละคร
2.โครงเรื่อง การใช้กลวิธีเล่าเรื่องเช่นเล่าเรื่องที่เกิดทีหลัง แล้วย้อนกลับมาก่อนหน้า (flashback)
3. ตัวละคร เช่น
-แบนราบ (flat) พวกดีก็ดีหมด ชั่วก็ชั่วหมด
-ซับซ้อน (round) มีดีชั่วปะปน นิสัยเปลี่ยนตามเหตุการณ์ สมจริง เหมือนคนจริงๆ
-ตัวละครธรรมเนียมนิยม (stock) จำพวกเป็นแบบฉบับ นางอิจฉาต้องกรี๊ด อะไรประมาณนี้
4. ฉาก สภาพภูมิประเทศ สถานที่ อาชีพ ชีวิตประจำวันของตัวละคร เวลา ยุค ความสัมพันธ์ระหว่างฉากกับตัวละคร
5. แก่นเรื่อง เรื่องนี้คนอ่านจะสื่ออะไร เหมือนสกัดสมุนไพร คือต้องสกัดจากเนื้อเรื่องออกมา
2. Theoretical criticism เชิงทฤษฎี เน้นการประยุกต์วรรณกรรมกับทฤษฎี แนวคิดต่างๆ เช่น จิตวิเคราะห์ มาร์กซิสม์ วรรณกรรมหลังอณานิคม วรรณกรรมชายขอบ เพศสถานะ อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ชีวประวัติผู้แต่ง ดูแก่นเรื่องโดยเฉพาะ การเปรียบเทียบ โดยเจาะประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
เช่น บทกวีเปิบข้าว (เปิบข้าวทุกคราวคำ ฯลฯ จิตร ภูมิศักดิ์) ประยุกต์กับแนวคิดมาร์กซิสม์ได้ แนวคิดนี้พูดถึงความเท่ากัน ชาวนากับชนชั้นกลาง แสดงการถูกเอารัดเอาเปรียบของชาวนา เป็นต้น
เช่น บทกวีเปิบข้าว (เปิบข้าวทุกคราวคำ ฯลฯ จิตร ภูมิศักดิ์) ประยุกต์กับแนวคิดมาร์กซิสม์ได้ แนวคิดนี้พูดถึงความเท่ากัน ชาวนากับชนชั้นกลาง แสดงการถูกเอารัดเอาเปรียบของชาวนา เป็นต้น
หลักการเขียนงานวิจารณ์
1.อ่านงานเขียนอย่างละเอียด
2.เข้าใจความหมายงานเขียน
3.วิเคราะห์ส่วนต่างๆของงานเขียนตามเชิงปฏิบัติ
4.เลือกประเด็นสำคัญ ไม่กว้างเกิน ข้อมูลเพียงพอ
5.ตั้งสมมติฐานในการตอบ
6.หาหลักฐานสนับสนุน
7.หาข้อสรุป
ย้ำอีกทีนะคะว่า นี่เป็นแนวทางหนึ่งในการวิจารณ์วรรณกรรม มีอีกหลายวิธี หลายแนวทาง ตรงนี้เอาเลกเชอร์ที่เรียนมาก็น่าจะเพียงพอต่อการตอบคำถามของน้องเฟิร์นที่ว่า วรรณกรรมเขาวิจารณ์กันอย่างไร ทั้งนี้ คนที่วิจารณ์ก็ต้องมีความคิดกว้างไกล มีมุมมองที่หลากหลายและเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงจะเป็นผู้วิจารณ์ที่ดี
1.อ่านงานเขียนอย่างละเอียด
2.เข้าใจความหมายงานเขียน
3.วิเคราะห์ส่วนต่างๆของงานเขียนตามเชิงปฏิบัติ
4.เลือกประเด็นสำคัญ ไม่กว้างเกิน ข้อมูลเพียงพอ
5.ตั้งสมมติฐานในการตอบ
6.หาหลักฐานสนับสนุน
7.หาข้อสรุป
ย้ำอีกทีนะคะว่า นี่เป็นแนวทางหนึ่งในการวิจารณ์วรรณกรรม มีอีกหลายวิธี หลายแนวทาง ตรงนี้เอาเลกเชอร์ที่เรียนมาก็น่าจะเพียงพอต่อการตอบคำถามของน้องเฟิร์นที่ว่า วรรณกรรมเขาวิจารณ์กันอย่างไร ทั้งนี้ คนที่วิจารณ์ก็ต้องมีความคิดกว้างไกล มีมุมมองที่หลากหลายและเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงจะเป็นผู้วิจารณ์ที่ดี
ตั้งกระทู้ได้ยังหว่า งุบงิบงุบงิบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น